วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 8 : Review /แนะนำ การใช้งาน 1 โปรแกรม

      Week 8 : Review /แนะนำ การใช้งาน 1 โปรแกรม

Asphalt 8: Airborne

    สวัสดีค่าาาาาาาาาาาาาาา...

    วันนี้ก็ต้องมารีวิวโปรแกรม หรือแนะนำการใช้ จะยังไงดีล่ะ อันตัวเราก็ไม่เซียน ถูกใจใช่เลยเลยเอามา ถามว่าเล่นเป็นมั๊ย ก็จบเกมแหละหน่า..หืมม 55555




      วันนี้เราจะมารีวิวเกม Asphalt 8: Airborne ความเฟี้ยวฟ้าวอยู่ที่ภาพ  โมเดลรถที่สวยงาม ฉากต่างๆ ดูสมจริง กราฟิกสุดอลังการ ภาพสะท้อนแบบรีลไทม์ และเอฟเฟกต์เจ๋งๆ เสียงเครื่องยนต์อัดใหม่แบบชัดๆอย่างสมจริง เพลงมันส์กระชากอารมณ์ น่าสนใจละสิท่า โหลดมาเล่นกันดูมั๊ยล่ะ น่าเล่นมากๆจริงๆนะ ที่สำคัญ Download for Free นะจ๊ะจะบอกให้
.
.
.
.
.


  คำเตือน : รีวิวนี้ทำขึ้นโดยมือใหม่ไก่กา ถ้าท่านที่โปรแล้วหรือเล่นมานานแล้วแนะนำให้กดกากบาทแล้วออกไปก่อนเถอะครับ อู้ยขอโทษ555555
คือ...            อันตัวเราเคยเล่นในเครื่องเพื่อน            โอ้เสมือนสวรรค์สร้างข้าหลงใหล
             มีงานมาให้รีวิวเอาแล้วไง                            นั่งคิดไปเห้ยAsphaltสนุกดี
                   คิดนานแล้วว่าจะโหลดมาลองเล่น         การณ์จำเป็นจึงได้โหลดในตอนนี้
            โหลดมาแล้วก็ลองเล่นในทันที                     เหตุฉะนี้จึงเกิดนี่รีวิวไก่กา
กลอนแปดทำไมม..? ไม่มีใครทราบ55555555   คิดซะว่าเรามาเริ่มเล่นไปด้วยกันนะจิจิ


เข้าเรืองกันเถอะ !
  ก่อนอื่นเลยก็ต้องโหลดแอพลิเคชั่น เอ้า!โหลดเลยครับ Asphalt 8: Airborne รองรับทั้งใน iOS และ Android เลยนะฮะ

นี่เลยฮะ แบบนี้เลย หน้าตาประมาณนี้เลย อาจต้องใช้เวลานานหน่อย เวลาโหลดควรเชื่อมต่อ Wifi เพราะไฟล์ค่อนข้างใหญ่ ใหญ่มากเลยแหละอาจช้าหรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ประมาณนั้นแหละ มันจะมีขึ้นเตือนอยู่


เอาโหลดแล้วก็เล่นดีฮะรอไรร55555 อ้ะ!ไม่ใช่
โหลดเสร็จแล้วเปิดมาจะมีให้ใส่อายุก็ใส่ฮะ เขาจะมีขึ้นบอกว่าอะไร ยังไง ทำไม


นี่ จากนั้นก็เข้าไปเลย ตอนเริ่มเล่นใหม่ก็จะมีการแนะนำต่างๆ

จะเล่นก็ต้องเลือกรถฮะ อื้อหือออเด็ดๆมากมาย สวยๆทั้งนั้นนนนนน



















แต่ช้าก่อนน! ไม่ครับ คุณไม่มีสิทธิ์เลือก 5555 เปิดมาเงินก็ไม่มีครับ มีก็มีไม่พอครับ อย่างมากก็อัพพวก ไนโตร การควบคุม ความเร่ง ความเร็วสูงสุดได้ ส่วนรถก็คันนั้นแหละฮะ คลาส D ใสๆ555



 อย่างๆน้อยก็เปลี่ยนสีรถได้นะฮะ ว่าแต่เอาสีอะไรดีล่ะเนี่ยยย



เอาจริงๆมันก็มีให้แต่งรถ พ่นสีรถได้แหละ แต่สำหรับเรายังไม่ใช่ตอนนี้ค่ะ55555 เฮ้อถ้าพี่มีเงินสักนิดนะ..
.
.
                             พ่นสีงี้




                             แต่งรถงี้








เอ้าาๆ พอๆเอาสีที่โดนใจใช่เลยแล้วไปลุยกันเลยดีกว่า





เหมือนตอนแรกมันจะมีให้เล่นแบบสอนเล่น ก็ได้เลยนะลองดู เขาก็จะแนะนำอ่ะ ถ้าครั้งแรกยังมึนๆเราสามารถกดเล่นแบบการสอนเล่นได้นะ ตามนี้เลย




   ตอนเล่นก็จะมีบอก เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ดริฟท์ ใช้ไนโตร กระโดดหมุนระนาบ






 จบการสอนเล่นแล้ว! แต่เราก็ยังสามารถมาเล่นแบบการสอนเล่นได้อีกนะ




    ส่วนการเล่นหลักๆเลยก็มี 

        การเลี้ยวขวา   เอียงขวาเพือเลี้ยวขวา
        การเลี้ยวซ้าย  เอียงซ้ายเพื่อเลี้ยวซ้าย
        การเบรก         แตะด้านซ้ายของหน้าจอค้างไว้เพื่อเบรก
        การใช้ไนโตร  แตะด้านขวาของหน้าจอเพื่อใช้ไนโตร
                               แตะด้านขวาของหน้าจออีกครั้งเพื่อพลังที่แรงขึ้น
                               แตะอีกหนึ่งครั้งจะเป็นการเร่งความเร็วสูงสุด
       ไนโตรเพอร์เฟค  ใช้ไนโตรอีกครั้งเมื่อแถบไนโตรอยู่ในส่วนสีแดงเพื่อเร่งความเร็วพิเศษ!

       การดริฟท์  แตะเบรกขณะเลี้ยวเพื่อเข้าสู้โหมดดริฟท์
       กระโดดหมุนระนาบ   แล่นลงจากแท่นทางลาดขณะดริฟท์เพื่อกระโดดหมุนระนาบ


   ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเลือกการควบคุมได้



นอกจากนี้ก็จะมีทริคเล็กๆน้อยๆคอยบอก คอยแนะนำ เช่น ระเบิดไนโตรนิดหน่อยตอนออกตัวเพื่อแซงคู่แข่ง จับพวงมาลัยนิ่งๆก็จะหลุดดริฟท์ ตัวเสริมพลังไนโตรจะเติมเต็มแถบไนโตรเพื่อเร่งความเร็วติดจรวด




   สนามแรก เนวาดา แต่ละสนามก็จะมีเงื่อนไขการผ่านฉาก
   เอ้าควงตีลังกายังไงล่ะครับทีนี้ หมุน2ทีลอยกลางอากาศ พวกนี้ก็ไม่ค่อยจะถนัด  แต่ถ้าเรื่องพังๆอ่ะไว้ใจผมมมม!!



สังเกตดีๆจะมีเพิ่มคู่แข่งเงา ซึ่งเราจะเพิ่มหรือไม่เพิ่มก็ได้ ซึ่งคู่แข่งเงาก็คือคนที่จะมาแข่งกับเรา โดยก็มาจากรถแข่งเงาของเพือน ถ้าเราเชื่อมกับ Facebook แล้วก็คงจะเป็นเพื่อนใน Facebook ที่เล่นเกมนี้นั่นแหละ


เราก็เลือกมาได้หนึ่งคน ระบบก็จะดึงคู่แข่งเงาที่เราเลือกนั้นเข้ามาร่วมในเกม ซึ่งเราก็สามารถเป็นคู่แข่งเงาได้เช่นกันนะ ลองเล่นแล้วสิจะรู้




เอ้าา !! ลุยครับลุยแต่ละสนามก็แตกต่างกันไป ก็ค่อยๆปลดล็อคสนามกันไปนะฮะ แต่จะเป็นยังไงต่อก็ต้องลองไปด้วยกันละกันนะเพื่อนๆ





 เกมนี้เชือมต่อเฟสบุ๊คได้ด้วย ก็มีสถิตงสถิติ ลึกๆก็ค่อยว่ากัน ก็เก็บตังค์แต่งรถกันไป





 มีรถเฟี้ยวๆเยอะแยะ มีแพ็ครถด้วย




 ก่อนซื้อก็กดดูได้ว่าในแพ็คมีรถรุ่นอะไรบ้าง









จริงๆรถสวยๆก็มีหลายคันเลย มันก็แล้วแต่คนชอบนะ แล้วชอบแล้วไงต่อ ซื้อได้ป้าว เงินมีป้าว โทเค็นพอหรอ อู้ยลั่นๆหลบแปป5555 ก็นั่นแหละฮะ เด็กๆก็รอพี่ก่อนนะ แล้วพี่จะไปถอยหนูววว


























มันน่าสนุกจริงๆนะ ภาพก็สวยอ่ะ แถมฟรีด้วย หมายถึงโหลดอ่ะนะ มันได้อ่ะจริง ต้องลอง แล้วจะติดจายยยย นี่มารีวิวก็ไม่ได้โปรนะ แต่ชอบ เคยเล่นละติดใจไง 5555 ลองดูๆ


อ่ะๆเรียกน้ำย่อยกันหน่อยยย ...? ไม่ใช่ของกินป้ะล่ะ5555 มามะปลุกความซิ่งในตัวคุณ




.
.
.
.
.
.
.
.

สุดท้ายก็..เล่นให้สนุกนะสายซิ่ง









ขอบคุณ  Asphalt 8 : Airborne

อ้างอิง
http://www.tphattara.com/asphalt8-money/
http://review.thaiware.com/441.html
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.gameloft.android.ANMP.GloftA8HM&hl=th





ผิดพลาดประการใด ไม่ดียังไงก็...
.
.
.
.
.
.
.
.
.
กราบนะท่าน อย่าว่าเราา

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 7 : คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้ เป็นการลดต้นทุนขององค์กร

         ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น


        โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย  หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่า ลูกข่ายหรือสถานีงาน

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมเป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

อุปกรณ์ในเครือข่าย
·       การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้    

                                             
·       โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น



·       ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ





    องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย
                การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้
  - คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย  2  เครื่อง
  - เน็ตเวิร์ดการ์ด  หรือ  NIC ( Network  Interface  Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องที่ เมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์  ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  - สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล  เช่น  สายสัญญาณ  ส่วนสายสัญญาณที่นิยมที่ใช้กันในเครือข่ายก็เช่น  สายโคแอ็กเชียล  สายคู่เกลียวบิด  และสายใยแก้วนำแสง  เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์เครือข่าย  เช่น  ฮับ สวิตช์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
   - โปรโตคอล  ( Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้  ภาษาหรือใช้โปรโตคอลเดียวกันเช่น  OSI,  TCP/IP,  IPX/SPX เป็นต้น
  - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  หรือ NOS (Network Operating System)ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวคอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน


    ประเภทของเครือข่าย
                เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
    1) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย


    2) เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย (home network) ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย


    3) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป  เช่น  การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน  การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN)


    4) เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน  (Wide Area Network: WAN)  เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือขายระหว่างประเทศ


               แต่ปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 6 แบบ ได้แก่
    เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)
    เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN)
    เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)
    เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN)
    เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
    เครือข่ายข้อมูล หรือ แซน (Storage area network) : SAN) เป็นเครือข่าย (หรือเครือข่ายย่อย) ความเร็วสูงวัตถุประสงค์เฉพาะที่เชื่อมต่อภายในกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดต่างกันด้วยแม่ข่ายข้อมูลสัมพันธ์กันบนคัวแทนเครือข่ายขนาดใหญ่ของผู้ใช้



        ลักษณะของเครือข่าย
                   ในการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันสามารถแบ่งลักษณะของเครือข่ายตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการสื่อสารได้ดังนี้

    1) เครือข่ายแบบรับ-ให้บริการหรือไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (client-server network) จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องให้บริการต่างๆ  เช่น  บริการเว็บ  และบริการฐานข้อมูล  การให้บริการขึ้นกับการร้องขอบริการจากเครื่องรับบริการ  เช่น  การเปิดเว็บเพจ  เครื่องรับบริการจะร้องขอบริการไปที่เครื่องบริการเว็บ  จากนั้นเครื่องให้บริการเว็บจะตอบรับและส่งข้อมูลกลับมาให้เครื่องรับบริการ ข้อดีของระบบนี้คือสามารถให้บริการแก่เครื่องรับบริการได้เป็นจำนวนมาก  ข้อด้อยคือระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและการบำรุงรักษาค่อนข้างสูง  ตัวอย่างเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ

   2) เครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network : P2P network) เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องให้บริการและเครื่องรับบริการในขณะเดียวกัน การใช้งานส่วนใหญ่มักใช้ในการแบ่งปันข้อมูล เช่น เพลง ภาพยนตร์ โปรแกรม และเกม เครือข่ายแบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตการใช้งานจะมีซอฟต์แวร์เฉพาะ เช่น โปรแกรม eDonkey, BitTorrent และ LimeWire ข้อดีของระบบแบบนี้คือง่ายต่อการใช้งาน และราคาไม่แพง ข้อด้อยคือไม่มีการควบคุมเรื่องความปลอดภัย จึงอาจพบว่าถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางไม่ถูกต้อง เช่น การแบ่งปันเพลง ภาพยนตร์ และโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ตัวอย่างเครือข่ายระดับเดียวกัน



อุปกรณ์การสื่อสาร
           การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายมีหลายแบบด้วยกัน เช่น การต่อผ่านโทรศัพท์บ้านการต่อผ่านเคเบิลทีวี การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใช้สายและไร้สาย ซึ่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สนับสนุนในการเชื่อมต่อในแต่ละแบบ อุปกรณ์การสื่อสารประเภทต่างๆ ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น
          1) โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอนาล็อก และแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิทัลเพื่อให้ข้อมูลส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ 
          2) การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายตัวนำสัญญาณทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับและส่งข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้ ในอดีตเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ต่อเพิ่มเข้ากับเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันมักจะถูกประกอบรวมไปในเมนบอร์ด เนื่องจากความต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกลายเป็นความจำเป็นพื้นฐานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไปแล้วนั่นเอง


          3) ฮับ (hub) เป็นฯอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น
          4) สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกจุดเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานีที่เชื่อมต่ออยู่กับสวิตช์ และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
         5) อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน หรือเชื่อมโยงอุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีเส้นทางการเข้าออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง อุปกรณ์ปลายทาง อุปกรณ์จัดเส้นทางจะหาเส้นทางที่เหมาะสมให้ เพื่อนำส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ไปยังอุปกรณ์ปลายทางตามที่ระบุ


         6) จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless access point) ทำหน้าที่คล้ายกับฮับของเครือข่ายแบบใช้สายเพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สาย ซึ่งข้อมูลจะถูกส่งผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่สูง โดยจะต้องใช้งานร่วมกับการ์ดแลนไร้สายที่ติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น 





          รูปร่างเครือข่าย
                การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามลักษณะทางกายภาพที่เรียกว่ารูปร่างเครือข่าย (network topology) โดยทั่วไปรูปร่างเครือข่ายสามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ 4 รูปแบบคือ

    1) เครือข่ายแบบบัส (bus topology) เป็นรูปแบบที่มีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก สถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวที่เรียกว่า บัส (bus) การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงไปถึงทุกสถานีได้ ซึ่งการจัดส่งวิธีนี้ต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้เกิดการชนกัน (collison) ของข้อมูล โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้คลื่นความถี่ในการส่งสัญญาณที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบบัส ไม่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบัสเพียงจุดเดียวก็จะส่งผลให้ทุกอุปกรณ์ไม่สามารถสื่อสารถึงกันได้เลย รูปร่างเครือข่ายแบบบัส



    2) เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology) เป็นการเชื่อมแต่ละสถานีเข้าด้วยกันแบบวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับ หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด สถานีนั้นก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป ซึ่งระบบเครือข่ายแบบวงแหวนนี้ สามารถรองรับจำนวนสถานีได้เป็นจำนวนมาก ข้อด้อยของเครือข่ายแบบวงแหวน คือ สถานีจะต้องรอจนถึงรอบของตนเอง ก่อนที่จะสามารถส่งข้อมูลได้ รูปร่างเครือข่ายแบบวงแหวน



    3) เครือข่ายแบบดาว (star topology) เป็นการเชื่อมต่อสถานีในเครือข่าย โดยทุกสถานีจะต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลาง เช่น ฮับ (hub) หรือสวิตซ์ (switch) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ของดีของการเชื่อมต่อแบบดาว คือ ถ้าสถานีใดเสีย หรือสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ/สวิตซ์กับสถานีใดชำรุด ก็จะไม่กระทบกับการเชื่อมต่อของสถานีอื่น ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน รูปร่างเครือข่ายแบบดาว



    4) เครือข่ายแบบแมช (mesh topology) เป็นรูปแบบของการเชื่อมต่อที่มีความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากถ้ามีเส้นทางของการเชื่อมต่อคู่ใดคู่หนึ่งขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่นั้นยังสามารถติดต่อได้โดยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) จะทำการเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจุดหมายปลายทางอัตโนมัติ การเชื่อมต่อแบบนี้มักนิยมสร้างบนเครือข่ายแบบไร้สาย รูปร่างเครือข่ายแบบแมช





        ตัวอย่างการติดตั้งเครือข่าย
การติดตั้งแลนภายในบ้าน
                 การติดตั้งแลนภายในบ้านอย่างง่าย สามารถทำได้โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเข้าด้วยกันโดยผ่านสวิตช์ และทำการปรับการตั้งค่าของโพรโทคอลการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่อยู่ ไอพีของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ และถ้าต้องการเชื่อมต่อแลนดังกล่าวเข้ากับอินเทอร์เน็ต จะต้องทำการเชื่อมต่อสวิตช์เข้ากับอุปกรณ์จัดเส้นทาง จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้โดยขอใช้บริการจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางสวิตช์เพื่อขยายและเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จะต่อพ่วงภายในบ้านหรือสำนักงานได้เอง และเนื่องจากความก้าวทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ปัจจุบันได้มีการรวมเอาอุปกรณ์จัดเส้นทาง เอดีเอสแอลโมเด็ม สวิตช์ และจุดเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้าด้วยกัน เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้



 ประโยฃน์ของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

       1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบ ดีเอสแอล ( Digital Subscriber Line DSL ) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที
    2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือสูง
    3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล หรือ ค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
    4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี ( Voice over IP : VoIP ) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลส่งข้องมูลหรือเอกสารในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และรวดเร็วกว่าการส่งเอกสารแบบวิธีอื่น
    5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถให้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ ( file server ) เป็นต้น
    6. ความสะดวกในการประสารงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
    7. ขยายบริการองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ตามตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น
    8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( e – commerce ) และการรับชำระสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( counter service )








                                               ............................................................................


อ้างอิง :
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๔-๖

PICTURE